วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

THUMB DRIVE , FLASH DRIVE ,HANDY DRIVE มีความแตกต่างกันอย่างไร

ข้อมูล THUMB DRIVE , FLASH DRIVE ,HANDY DRIVE ต่างกันอย่างไร



Flash Drive (หรือที่หลายคนเรียก Handy Drive, Thumb Drive, USB Drive)

                เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว แต่ในขณะเดียวกันมีความจุสูง สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากตั้งแต่ 2 GB ถึง 16 GB และขนาดความจุข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

1.Thumb drive

Thumb drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติเหมือน CD-R, Floppy Disk, Hard Disk เป็นหน่วยความจำ ที่เสริมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ทาง Port USB และถือเป็นการเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ คือไม่ต้องมีตัว Drive ตัว Disk พกพาได้สะดวกมีขนาดเล็กเท่ากับหัวแม่มือ เป็นยุคแรกๆ ของอุปกรณ์จำพวก Flash Drive ความเร็วในการอ่าน เขียน ประมาณ 500KB/Sec มีความจุอยู่ระหว่าง 8 MB - 1024MB ในปัจจุบันอาจมีมากขึ้น สำหรับราคาในยุคแรกๆ ราคาสูง ขนาดความจุน้อย



ภาพตัวอย่าง Thumb drive

2.Flash Drive

Flash Drive มีชื่อจริงว่า USB Mass Storage Device ส่วนใหญ่เรียกกันว่า USB Flash Memory Drive , USB Flash Drive Memory หรือ USB Flash Drive การใช้งานเชื่อมต่อกับ Computer ผ่านทาง Port USB ใช้ Flash Memory เก็บข้อมูล ทำงานเป็น Drive เหมือน HardDisk อ่านและบันทึกข้อมูลได้อย่างเดียวไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ ซึ่งเป็นยุคต่อมาจาก Thumb drives ราคาถูกลง ความจุมีมากขึ้น ขนาดของตัว Flash Drive เล็กลงด้วย บางยี่ห้อมีขนาดประมาณ 1 นิ้ว

ภาพตัวอย่าง Flash Drive

3.Handy drive
               
Handy drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติและการทำงานเหมือน Flash drive แต่ที่เพิ่มขึ้นมาคือสามารถเล่นไฟล์ Mp3ไฟล์วีดีโอ ไฟล์รูปภาพ ฟังวิทยุผ่านช่องเสียบหูฟัง และฟังก์ชันอื่นๆ ที่ผู้ผลิตจะใส่ลงไป ใช้แบตเตอรี่มีทั้งแบบใช้ถ่าน AA , AAA หรือถ่านชาตร์ ซึ่งจะชาตร์ถ่านผ่านทาง Port USB รูปลักษณ์สวยงาม แต่มีขนาดใหญ่กว่า Flash drive เนื่องจากต้องใช้แบตเตอรี่ สำหรับราคาแพงกว่า Flash drive อยู่บ้างเหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้งานที่หลากหลาย

ภาพตัวอย่าง  Handy drive

ที่มาhttp://ac1pramjit.blogspot.com


โดยนางสาวหยาดพิรุณ เกิดโชค สาขา SME2/1 กลุ่มเรียนวันพุธ12.30-15.30

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

สรุปท้ายบท

คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาช่วยเหลือการทำงานของมนุษย์อย่างมาก มีคุณสมบัติเด่นคือ ความเป็นอัตโนมัติทำงานด้วยความเร็ว มีความถูกต้องแม่นยำ น่าเชื่อถือ จัดเก็บข้อมูลทำงานซ้ำๆ กันและใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อติดต่อสื่อสารกันได้ คอมพิวเตอร์นั้นมีวิวัฒนาการที่รวดเร็วมาก ตั้งแต่ยุคสมัยดึกดำบรรพ์เป็นต้นมา มนุษย์เรามีความพยายามที่จะคอมพิวเตอร์คิด ค้นเครื่องไม้เรื่องมือต่างๆ เพื่อนำมาช่วยในการนับและคำนวณเริ่มตั้งแต่การใช้นิ้วมือเพื่อช่วยในการนับ ตัวเลขหนึ่งถึงสิบ แต่เมื่อค่าตัวเลขมีเพิ่มมากขึ้นวิธีนี้ก็ทำได้อย่างจำกัด มนุษย์จึงพยายามหาสิ่งใกล้ตัวมาช่วยนับเพิ่ม จากนั้นจึงได้พัฒนาและคิดค้นวิธีที่จะทำให้การนับต่างๆง่ายขึ้นกว่าเดิมกลาย มาเป็นกลไกที่ใช้คำนวณ จนวิวัฒนาการมาเป็นคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ในยุคแรกเน้นในการทำสงครามเป็นหลัก ต่อมามีการพัฒนาให้ดีขึ้น โดยปรับขนาดให้เล็กลงและมีแระสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เราสามารถนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ในสายงานต่างๆได้มากขึ้น เช่น การใช้งานภาครัฐ ธุรกิจทั่วไป สายการบิน การศึกษา ธุรกิจนำเข้าและส่งออก ธนาคาร วิทยาศาสตร์และการแพทย์  เป็นต้น

ปริมาณผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และคอมพิวเตอร์มีการเชื่อมโยงต่อกันเป็นเครือข่ายมากขึ้นการออกแบบตัวเครื่องในเรื่องใหม่ๆ มีการปรับรูปลักษณ์แปลกตามากกว่าเดิม นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาขีดความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ โดยนำเอาศาสตร์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้ อย่างไรก้อตามคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ตามคำสั่งที่ได้รับมาเท่านั้น หากได้รับข้อมูลทีผิดพลาด การประมวลผลก็ย่อมผิดตามไปด้วยผู้ใช้จำเป็นต้องเข้าใจภาพรวมในการใช้งานคอมพิวเตอร์ว่า ไม่สามารถเอามาใช้แทนมนุษย์ได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ มนุษย์ยังเป็นผู้ควบคุมการทำงานบางอย่างอยู่

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1

1.ลักษณะเด่นของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้
         - ความเป็นอัตโนมัติ
         - ความเร็ว
         - ความถูกต้อง แม่นยำ
         - ความน่าเชื่อถือ
         - การจัดเก็บข้อมูล
         - ทำงานซ้ำๆได้
         - การติดต่อสื่อสาร

2.เครื่อง SUAN-PAN เกี่ยวข้องกับประวัติของคอมพิวเตอร์ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ. SUAN-PAN เป็นอุปกรณ์ประเภทลูกคิดที่เอามาใช้สำหรับคำนวณของชาวจีนในสมัยก่อน เพื่อช่วยในการคิดหาผลลัพธ์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันในยุคปัจจุบัน

3.แท่งคำนวณของเนเปียร์ สร้างขึ้นมาโดยใคร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ. สร้างขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวสก๊อตชื่อว่า จอห์น เนเปียร์ มีลักษณะเป็นแท่งไม้ตีเส้นตารางเพื่อเอาไว้คำนวณหาผลลัพธ์

4.ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาของคอมพิวเตอร์" คือใคร และเหตุใดจึงได้รับการยกย่องเช่นนั้น
ตอบ. "ชาร์ลส แบบเบจ" เนื่ิองจากเขาเป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครื่องจักรกลให้สามารถทำงานตามคำสั่งได้โดยไม่ต้องมานั่งคำนวณหาผลลัพธ์ใหม่อีกครั้ง

5.เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลกคือเครื่องใด และจงอธิบายว่าสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลใด
ตอบ. ENIAC ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นเพื่อการช่วยคำ  นวณวิถีกระสุนปืนใหญ่ของกองทัพสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2

6. John Von Neumann มีบทบาทอย่างไรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของคอมพิวเตอร์
ตอบ. เขาเป็นผู้เสนอแนวคิดและเผยแพร่ให้มีการพัฒนาเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลเละชุดคำสั่งไว้ภายในได้เอง โดยไม่ต้องมาคอยป้อนข้อมูลเข้าไปใหม่ทุกครั้งซึ่งมันจะทำให้เสียเวลาในการทำงานอย่างมาก

7.เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจ คือเครื่องใด และนำมาใช้กับงานด้านใด
ตอบ. UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำเอามาใช้ในเชิงธุรกิจเครื่องแรก ใช้ในการทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา

8.ทรายซิสเตอร์กับแผงวงจรรวม เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อทดแทนการทำงานของหลอดสูญญากาศ โดยมีขนาดเล็กกว่าหลอดสูญญากาศ และยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่เนื่องจากการทำงานที่ซับซ้อนและต้องการประมวณผลที่เร็วขึ้น จึงทำให้ทรานซิสเตอร์ถูกพัฒนามาเป็น แผงวงจรรวม โดยมีความสามารถที่ดีกว่าเดิม ซึ่งเป็นการนำเอาทรานซิสเตอร์จำนวนนับพันตัวมารวมกันเป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียว   และมีขนาดเล็กลงจึงทำให้ลดต้นทุนในการผลิตลงไปได้มากและเครื่องที่ผลิตได้มีขนาดเล็กลงมาก

9.E-Government คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. Electronic government หรือรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นโครงการที่นำเอาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศอันทันสมัยมาให้บริการประชาชน ประชาชนชนทั่วไปสามารถใช้บริการต่างๆของภาครัฐบาลได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การยื่นเสียภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ต ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ที่เชื่อมโยงเข้าถึงกันหมดทั่วประเทศ ฯลฯ

10.สายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airline) และมีการลดต้นทุนโดนนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยได้อย่างไร
ตอบ. เป็นสายการบินรูปแบบหนึ่งที่เน้นการลดต้นทุนในการจัดการและบริหารงานให้น้อยที่สุดเพื่อให้สามารถแข่งขันกันในเรื่องราคาตั๋วโดยสารให้มีราคาที่ถูกลง จึงทำให้มีคนนิยมใช้บริการจำนวนมาก โดยนำเอาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอันทันสมัยมาช่วยในเรื่องของการรับจองการเดินทางโดยผ่านช่องทางหลายๆ ช่องทาง เช่น โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องออกตั๋วเป็นใบๆให้กับลูกค้า เพียงแค่แสดงบัตรใดๆที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ก็สามารถเดินทางได้ทันที

11.ลักษณะเด่นของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับสื่อการสอนในอคีต
ตอบ. Computer Assiste Instruction เป็นสื่อการสอนรูปแบบใหม่ที่นำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่นๆมาสร้างให้อยู่ในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดียที่ประกอบด้วย รูปภาพ บทบรรยายเสียงพูดและเทคนิคการนำเสนอต่างๆ ให้มีความน่าสนใจและก่อให้เกิดการอยากเรียนมากขึ้นถ้าหากเรียนแล้วไม่เข้าใจก็สามารถเรียนหรือฝึกฝนทบทวนซ้ำเองได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งสื่อแบบเดิมไม่สามารถทำได้

12.รูปแบบของ E-banking สามารถ ทำได้ผ่านช่องทางอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างมาประกอบอย่างน้อย 3 ช่องทาง
ตอบ. ธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นในปัจจุบัน สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงินได้หลายช่องทางมาก เช่น
      - ผ่านเครือข่ายอินเตอร์
การเข้าไปใช้ระบบ จะมีรายชื่อผู้ใช้( User name ) และรหัสผ่าน ( Pass Word ) ที่ให้ เข้าไปทำธรุกรรมได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว บริการดังกล่าวครอบคลุมการทำธรุกรรมคล้ายกับระบบอื่น เช่น การโอนเงิน การสอบถามยอดเงินคงเหลือ ฯลฯ
       - ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ
ผู้ใช้เพียงกดหมายเลขโทรศัพท์อัตโนมัติที่ธนาคารระบุไว้ในการติดต่อทำธุระกรรมก็สามารถเลือกทำรายการทางการเงินต่างๆ ได้เช่น การโอนเงิน การเติมเงินมือถือฯลฯ
      - ผ่านตู้ATM
ผู้ใช้บริการสามารถเลือกทำรายการธุรกรรมต่างๆ ผ่านตู้ATMที่มีให้บริการของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ได้ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการถอนเงินสด ฝากเงิน โอนเงิน และการชำระค่าบริการต่างๆ ได้ซึ่งเปิดให้บริการ 24 ช.ม.

13.เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer) นำไปใช้ประโยชน์ในด้านใด และมีความแตกต่างกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) อย่างไรบ้าง จงอธิบายประกอบ
ตอบ. คอมพิวเตอร์แบบมือถือ เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับนำไปใช้งานกิจกรรมส่วนบุคคล เช่น บันทึกการนัดหมาย หรือการใช้ติดต่อทางธุรกิจ เช่น รับ-ส่งอีเมล์ ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับตลาดหุ้น เป็นต้น แตกต่างจากไมโครคอมพิวเตอร์ืทั่วไป คือ มีขนาดที่เล็กลงและพกพาติดตัวได้สะดวกกว่า โปรแกรมที่ใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์อาจนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์มือถือได้เช่นกัน แต่อาจตัดทอนคุรสมบัติบางอย่างลงไปบ้างเล็กน้อย

14.แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ. เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใหม่ที่สามารถป้อนข้อมูลเข้าไปได้โดยการเขียนบนจอภาพเสมือนกับการเขียนลงบนกระดาษ หน้าจอสามารถพลิกไปมาได้ 2 ลักษณะคือเหมือนกับการใช้งานคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คทั่วไปหรือพับแบบกระดาษรองเขียนหนังสือ ซึ่ง เครื่องนี้มีราคาแพงกว่าคอมพิวเตอร์รุ่นอื่นๆมาก

15.PDE Phone คืออะไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ.PDA Phone เป็นคืออุปกรณ์ที่รวมเอาความสามารถของ PDA อย่าง Palm หรือ Pocket PC มาผสมผสานกับความสามารถทางด้านการติดต่อสื่อสารอย่างโทรศัพท์มือถือ ซึ่งนอกจากจะสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ใช้งานทั้งโทรศัพท์และ PDA แล้ว ยังเป็นเพิ่มความสามารถให้กับ PDA สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายได้ผ่านทางคลื่นโทรศัพท์และปัจจุบันยังสามารถเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth หรือWireless LAN (Wi-Fi) ได้ในเครื่องเดียวกันด้วย

16.ภาษาธรรมชาติ (natural language) คืออะไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง
ตอบ. เป็นระบบที่คอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจภาษาธรรมชาติของมนุษย์ได้เป็นอย่างดีเช่น รับรู้หรือจดจำ



โดยนางสาวหยาดพิรุณ เกิดโชคสาขา SME 2/1    กลุ่มเรียนพุธ12.30-15.30

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

สรุปท้ายบท
           คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องของระบบคอมพิวเตอร์ ความหมายปละลักษณะสำคัญของของเครื่องคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบ ประเภท ตลอดจนการจัดประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของไมโครคอมพิวเตอร์ และบริษัทผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้เรื่องระบบคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์มี 4 องค์ประกอบ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
3. ข้อมูลและสารสนเทศ
4. บุคลากร (Peepleware)

        องค์ประกอบแต่ละอย่างล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกันทั้นสิ้น หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง การทำงานจะไม่มีความสมบูรณ์เต็มที่ พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยหน่วยทำงาน 5 หน่วยด้วยกันคือ หน่วยประมวลผลกลางหน่วยความจำหลั หน่วยความจำสำรอง ซึ่งทำหน้าที่ให้ประมวลผลหน่วยความจำหลักทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งประมวลผล หน่วยผลความจำสำรองจะใช้เป็นที่เก็บและ บันทึกข้อมุลไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อสามารถเลือกใช้ภายหลังได้ และมีทิศทางของระบบการทำงานเป็นเหมือนเส้นทางส่งผ่านข้อมูลระหว่างซีพียูและหน่วยความจำให้สามารถเชื่อมต่อกันได้

แบบฝึกหัดบทที่ 2

1. ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
ฮาร์ดแวร์ เป็นอุปกรณ์ที่จับต้องได้ สัมผัสได้ มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม มีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่อง (เช่น ซีพียู เมนบอร์ด แรม) และที่ติดตั้งอยู่ภายนอก (เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์)ซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ ส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บรรจุคำสั่งเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ โดยปกติแล้วจะถูกสร้างโดยบุคคลที่เรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (programmer) เป็นองค์ประกอบทางนามธรรม ไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้เหมือนกับฮาร์ดแวร์ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ         2..ซอฟท์แวร์ประยุกต์


2. หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงการซอฟต์แวร์ไทย
ตอบ
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอพต์แวร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย โดยมียุทธศาสตร์หลักในการผลักดันซอฟต์แวร์ของไทย อาทิ Enterprise Software, Animation and Multimedia, Game and Mobile Applications และ Embedded Software ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ


3. นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ
ต้องวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้รวมไปถึงผู้บริหารของหน่วยงานว่าต้องการระบบโปรแกรมหรือลักษณะงานอย่างไร เพื่อจะพัฒนาระบบงานให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด เช่น สำนักงานบัญชีต้องการซอฟแวร์แบบใดที่เหมาะกับงานบัญชี


4. ช่างเทคนิค มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์
ตอบ. 1. มีความชำนาญทางด้านเทคนิคโดยเฉพาะ
2.มีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
3.หน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้ใช้งานได้ตามปกติ


5. Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
ตอบ. เกี่ยวข้องในการพัฒนาซอฟต์แวร์ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาอย่างมีแบบแผน อาศัยหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์มาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อนของซอฟท์แวร์ และหาคุณภาพของซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาได้ มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากพอสมควร อยู่ในทีมงานพัฒนาซอฟต์แวร์กลุ่มเดียวกับนักเขียนโปรแกรมและนักวิเคราะห์ระบบ พบเห็นได้กับการผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น การสร้างระบบปฏิบัติการ การเขียนโปรแกรมเกมส์


6. การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด
ตอบ. 
ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator)


7. binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
ตอบ. ระบบเลขฐานสอง หรือที่เรียกว่า binary system เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ 0 กับ 1 เราเรียกว่าเป็นตัวเลขฐานสองหรือไบนารีดิจิต (binary digit) มักเรียกย่อๆว่า บิต(bit) นั่นเอง เกี่ยวข้องคือ ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ ต้องแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน สถานะหรือรูปแบบนี้เราเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอล


8. กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
ขั้นตอนที่ 1 กด SHIFT+Dเพื่อป้อนตัวอักษร
ขั้นตอนที่ 2 สัญญาณของตัวอักษร D ส่งไปยังระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนที่ 3 แปลงอักษร D ให้อยู่ในรุปแบบมาตรฐาน ของรหัส ASCขั้นตอนที่ 4 แสดงผลโดยแปลงกลับเป็นตัวอักษร D บนอุปกรณ์แสดงผล


9. การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. 
ยุคแรกใช้บัตรเจาะรูเพื่อควบคุมลายทอผ้า นำบัตรแบบใหม่มาประยุกต์ใช้มากขึ้น เช่น IBM 80 Column พัฒนามาใช้สื่อแบบใหม่มากขึ้นจนถึงปัจจุบัน แบ่งการนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้เป็น 2วิธีด้วยกันคือ
- ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device) ผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูล เช่น คีย์บอร์ด (keyboard) สำหรับข้อมูลประเภทตัวอักษร หรืออักขระพิเศษ สแกนเนอร์ (scanner)สำหรับข้อมูลประเภทภาพ ไมโครโฟน (microphone) สำหรับข้อมูลประเภทเสียง ฯลฯ
-ผ่านสื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) ดึงเอาข้อมูลที่ได้บันทึกหรือเก็บข้อมูลไว้ก่อนแล้วโดยใช้ สื่อเก็บบันทึกข้อมูล สำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ หรือซีดี เครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลเหล่านี้โดยอาศัยเครื่องอ่านสื่อโดยเฉพาะ เช่น ฟล็อปปี้ไดรว์ ซีดีรอมไดรว์ บัตรเจาะรูจัดอยู่ในกลุ่มการนำเข้าข้อมูลวิธีนี้เช่นกัน (ปัจจุบันไม่พบเห็นการใช้งานแล้ว)


10. พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ สมองและประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้อง อะไรบ้าง
ตอบ
หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วย1. ระบบเลขฐานสอง หรือ ไบนารี (Binary) 2. แอดเดรส3. บัส 4. หน่วยความจำแคช 5. ความเร็วสัญญาณนาฬิกา6. รีจิสเตอร์ 7. ทรานซิสเตอร์ 8. Arithmetic logic unit (ALU)9. Floating - Point Unit (FPU)10. Control Unit 11. Decode unit


11. ROM และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ
Rom คือ หน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ใช้เก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะข้อมูลใน ROM จะอยู่กับเครื่องอย่างถาวร ถึงแม้ไฟจะดับหรือปิดเครื่องไปก็ไม่สามารถทำให้ข้อมูลหรือคำสั่งในการทำงานต่างๆหายไปได้นิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าnonvolatile memoryส่วนRAM หน่วยความจำที่จดจำข้อมูลคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังทำงานอยู่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา หากไฟดับหรือมีการปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะถูกลบเลือนหายไปหมด


12. machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ.
 วัฏจักรเครื่อง หมายถึง วงจรการทำงานของ Processor ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องกับเวลาที่Processor ทำงาน โดยจะถูกควบคุมด้วยแผงวงจรเล็กๆ ที่ระบบ PC เรียกว่า Clock ซึ่งวัดหน่วยเป็นล้านรอบต่อวินาที (MHz)


13. ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ.
 เวลาปฏิบัติการ อยู่ขั้นตอนที่ 3 และ 4 (Execute และ Store) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนวณและนำผลลัพธ์ไปเก็บเพื่อรอให้เรียกใช้


โดยนางสาวหยาดพิรุณ เกิดโชค สาขา SME2/1 กลุ่มเรียนวันพุธ12.30-15.30