วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

สรุปท้ายบท
           คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องของระบบคอมพิวเตอร์ ความหมายปละลักษณะสำคัญของของเครื่องคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบ ประเภท ตลอดจนการจัดประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของไมโครคอมพิวเตอร์ และบริษัทผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้เรื่องระบบคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์มี 4 องค์ประกอบ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
3. ข้อมูลและสารสนเทศ
4. บุคลากร (Peepleware)

        องค์ประกอบแต่ละอย่างล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกันทั้นสิ้น หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง การทำงานจะไม่มีความสมบูรณ์เต็มที่ พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยหน่วยทำงาน 5 หน่วยด้วยกันคือ หน่วยประมวลผลกลางหน่วยความจำหลั หน่วยความจำสำรอง ซึ่งทำหน้าที่ให้ประมวลผลหน่วยความจำหลักทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งประมวลผล หน่วยผลความจำสำรองจะใช้เป็นที่เก็บและ บันทึกข้อมุลไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อสามารถเลือกใช้ภายหลังได้ และมีทิศทางของระบบการทำงานเป็นเหมือนเส้นทางส่งผ่านข้อมูลระหว่างซีพียูและหน่วยความจำให้สามารถเชื่อมต่อกันได้

แบบฝึกหัดบทที่ 2

1. ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
ฮาร์ดแวร์ เป็นอุปกรณ์ที่จับต้องได้ สัมผัสได้ มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม มีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่อง (เช่น ซีพียู เมนบอร์ด แรม) และที่ติดตั้งอยู่ภายนอก (เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์)ซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ ส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บรรจุคำสั่งเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ โดยปกติแล้วจะถูกสร้างโดยบุคคลที่เรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (programmer) เป็นองค์ประกอบทางนามธรรม ไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้เหมือนกับฮาร์ดแวร์ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ         2..ซอฟท์แวร์ประยุกต์


2. หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงการซอฟต์แวร์ไทย
ตอบ
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอพต์แวร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย โดยมียุทธศาสตร์หลักในการผลักดันซอฟต์แวร์ของไทย อาทิ Enterprise Software, Animation and Multimedia, Game and Mobile Applications และ Embedded Software ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ


3. นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ
ต้องวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้รวมไปถึงผู้บริหารของหน่วยงานว่าต้องการระบบโปรแกรมหรือลักษณะงานอย่างไร เพื่อจะพัฒนาระบบงานให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด เช่น สำนักงานบัญชีต้องการซอฟแวร์แบบใดที่เหมาะกับงานบัญชี


4. ช่างเทคนิค มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์
ตอบ. 1. มีความชำนาญทางด้านเทคนิคโดยเฉพาะ
2.มีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
3.หน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้ใช้งานได้ตามปกติ


5. Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
ตอบ. เกี่ยวข้องในการพัฒนาซอฟต์แวร์ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาอย่างมีแบบแผน อาศัยหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์มาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อนของซอฟท์แวร์ และหาคุณภาพของซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาได้ มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากพอสมควร อยู่ในทีมงานพัฒนาซอฟต์แวร์กลุ่มเดียวกับนักเขียนโปรแกรมและนักวิเคราะห์ระบบ พบเห็นได้กับการผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น การสร้างระบบปฏิบัติการ การเขียนโปรแกรมเกมส์


6. การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด
ตอบ. 
ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator)


7. binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
ตอบ. ระบบเลขฐานสอง หรือที่เรียกว่า binary system เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ 0 กับ 1 เราเรียกว่าเป็นตัวเลขฐานสองหรือไบนารีดิจิต (binary digit) มักเรียกย่อๆว่า บิต(bit) นั่นเอง เกี่ยวข้องคือ ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ ต้องแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน สถานะหรือรูปแบบนี้เราเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอล


8. กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
ขั้นตอนที่ 1 กด SHIFT+Dเพื่อป้อนตัวอักษร
ขั้นตอนที่ 2 สัญญาณของตัวอักษร D ส่งไปยังระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนที่ 3 แปลงอักษร D ให้อยู่ในรุปแบบมาตรฐาน ของรหัส ASCขั้นตอนที่ 4 แสดงผลโดยแปลงกลับเป็นตัวอักษร D บนอุปกรณ์แสดงผล


9. การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. 
ยุคแรกใช้บัตรเจาะรูเพื่อควบคุมลายทอผ้า นำบัตรแบบใหม่มาประยุกต์ใช้มากขึ้น เช่น IBM 80 Column พัฒนามาใช้สื่อแบบใหม่มากขึ้นจนถึงปัจจุบัน แบ่งการนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้เป็น 2วิธีด้วยกันคือ
- ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device) ผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูล เช่น คีย์บอร์ด (keyboard) สำหรับข้อมูลประเภทตัวอักษร หรืออักขระพิเศษ สแกนเนอร์ (scanner)สำหรับข้อมูลประเภทภาพ ไมโครโฟน (microphone) สำหรับข้อมูลประเภทเสียง ฯลฯ
-ผ่านสื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) ดึงเอาข้อมูลที่ได้บันทึกหรือเก็บข้อมูลไว้ก่อนแล้วโดยใช้ สื่อเก็บบันทึกข้อมูล สำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ หรือซีดี เครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลเหล่านี้โดยอาศัยเครื่องอ่านสื่อโดยเฉพาะ เช่น ฟล็อปปี้ไดรว์ ซีดีรอมไดรว์ บัตรเจาะรูจัดอยู่ในกลุ่มการนำเข้าข้อมูลวิธีนี้เช่นกัน (ปัจจุบันไม่พบเห็นการใช้งานแล้ว)


10. พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ สมองและประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้อง อะไรบ้าง
ตอบ
หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วย1. ระบบเลขฐานสอง หรือ ไบนารี (Binary) 2. แอดเดรส3. บัส 4. หน่วยความจำแคช 5. ความเร็วสัญญาณนาฬิกา6. รีจิสเตอร์ 7. ทรานซิสเตอร์ 8. Arithmetic logic unit (ALU)9. Floating - Point Unit (FPU)10. Control Unit 11. Decode unit


11. ROM และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ
Rom คือ หน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ใช้เก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะข้อมูลใน ROM จะอยู่กับเครื่องอย่างถาวร ถึงแม้ไฟจะดับหรือปิดเครื่องไปก็ไม่สามารถทำให้ข้อมูลหรือคำสั่งในการทำงานต่างๆหายไปได้นิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าnonvolatile memoryส่วนRAM หน่วยความจำที่จดจำข้อมูลคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังทำงานอยู่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา หากไฟดับหรือมีการปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะถูกลบเลือนหายไปหมด


12. machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ.
 วัฏจักรเครื่อง หมายถึง วงจรการทำงานของ Processor ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องกับเวลาที่Processor ทำงาน โดยจะถูกควบคุมด้วยแผงวงจรเล็กๆ ที่ระบบ PC เรียกว่า Clock ซึ่งวัดหน่วยเป็นล้านรอบต่อวินาที (MHz)


13. ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ.
 เวลาปฏิบัติการ อยู่ขั้นตอนที่ 3 และ 4 (Execute และ Store) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนวณและนำผลลัพธ์ไปเก็บเพื่อรอให้เรียกใช้


โดยนางสาวหยาดพิรุณ เกิดโชค สาขา SME2/1 กลุ่มเรียนวันพุธ12.30-15.30

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น